🌷ยาวหน่อย แต่ควรค่ากับการอ่านอย่างยิ่ง 👍👍👍
…
♥ หญิงสาวผู้หนึ่ง ไปศึกษาต่อที่เมืองนอก อาศัยความเจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกงในการนั่งรถโดยสาร ผลปรากฎว่า อนาคตถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ ♥
สิบสองปีก่อน มีสาวน้อยผู้หนึ่ง เพิ่งจบการศึกษาก็ไปที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มชีวิตกึ่งเรียนกึ่งทำงาน ต่อมาเธอพบเห็นว่า ระบบการขายตั๋วของรถโดยสารสาธารณะ เป็นระบบการช่วยเหลือตนเอง
คือ..เราคิดจะไปสถานที่ใด ก็ซื้อตั๋วด้วยตนเองไป ณ จุดหมายปลายทาง สถานีรถแทบจะเป็นระบบเปิดทั้งหมด ไม่มีจุดตรวจตั๋ว และไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋ว อีกทั้งการตรวจแบบสุ่มก็น้อยครั้งมากๆ
เธอ..พบเห็นช่องโหว่ของระบบการควบคุมนี้ หรืออาจจะเป็นการกล่าวว่า ด้วยความนึกคิดส่วนตัวของเธอ เห็นว่าเป็นช่องโหว่ อาศัยความฉลาดนี้ เธอคำนวณ ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ลงความเห็นว่า ฉ้อโกงค่าตั๋ว โอกาสที่จะถูกตรวจพบมีเพียงประมาณสามในหนึ่งหมื่น
กับการพบเห็นในสิ่งนี้ เธอดีใจกระดี้กระด้าภูมิใจอย่างยิ่ง ตั้งแต่นั้นมา เธอมักจะโกงราคาค่าโดยสาร อีกทั้งยังหาเหตุผลมาปลอบใจตนเองว่า ตนยังเป็นนักศึกษาจนจน ประหยัดได้ก็ประหยัด
สี่ปีผ่านไป เธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ที่โด่งดังมีชื่อเสียง และผลการเรียนที่โดดเด่นยอดเยี่ยมของเธอ เธอมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม เธอเริ่มย่างก้าวเข้าประตูของบริษัทฯ ต่างชาติในกรุงปารีส โฆษณาตนเองอย่างไม่ลังเล
ทว่า..บริษัทฯเหล่านี้ แรกเริ่มล้วนกุลีกุจอกระตือรือร้น แต่หลังจากผ่านไปหลายวัน ต่างก็ปฏิเสธด้วยความนุ่มนวล
ล้มเหลวผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้เธอโมโหโกรธามาก เธอมีความคิดเห็นในส่วนตัวว่า บริษัทฯเหล่านี้ มีความลำเอียงแบ่งแยกเชื้อชาติ
ในครั้งสุดท้าย เธอบุกเข้าห้องผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ
บริษัทๆ หนึ่ง วิงวอนขอร้องผู้จัดการ ให้เหตุผลที่ไม่บรรจุเธอเข้าทำงาน แต่แล้ว...
บทสรุปผลที่ปรากฎออกมานั้น เป็นสิ่งที่เธอไม่เคยคาดคิดมาก่อน
" คุณสุภาพสตรี พวกเราใช่ว่ามีการลำเอียง หรือแบ่งแยก อีกทั้งไม่ได้ดูแคลนในตัวเธอ กลับตรงกันข้าม พวกเราให้ความสำคัญต่อเธอมากตอนแรกเริ่มที่เธอมาสมัครงาน ภูมิหลังของสถานศึกษา และผลการศึกษาของเธอ พวกเราสนใจเป็นอย่างยิ่ง พูดตรงๆ ความสามารถในการปฏิบัติงาน เธอคือผู้ที่พวกเราต้องการอย่างมาก "
" แล้วเพราะเหตุใด ไม่บรรจุผู้ที่มีความสามารถอย่างฉัน เข้าทำงานในบริษัทล่ะ ?
" เพราะพวกเราได้ตรวจสอบ เครดิตความน่าเชื่อถือของเธอ พบเห็นว่า เธอเคยถูกบันทึก และถูกลงโทษ ในการโกงค่าโดยสารสาธารณะสามครั้ง "
" ฉันไม่ปฏิเสธ ว่ามีเรื่องนี้จริง ทว่าเพื่อเรื่องเพียงเล็กน้อยนี้ พวกท่านกลับละทิ้งผู้มีความสามารถพิเศษคนหนึ่ง ที่วิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งลงในวารสารหรือ ?"
" เรื่องเล็กน้อย.. พวกเรากลับไม่คิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย พวกเราสังเกตพบเห็นว่า
การโกงค่าโดยสารของเธอในครั้งแรก เป็นเวลาที่เธอได้มาประเทศเราหลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเชื่อในคำอธิบายของเธอ เพราะเธอบอกว่า ตนเองยังไม่เข้าใจระบบการจำหน่ายตั๋ว แบบช่วยเหลือตนเอง จึงเพียงให้เธอชดเชยตั๋วใหม่ แต่หลังจากนั้น เธอก็ยังโกงค่าโดยสารอีกสองครั้ง "
" เวลานั้น..ในกระเป๋าฉันไม่มีเงินปลีกพอดี "
" ไม่..ไม่..ไม่..คุณสุภาพสตรี ผมไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายของเธอ เธอคงกำลังสงสัยไอคิวของผม ผมเชื่อว่า ก่อนที่จะถูกตรวจพบ เธออาจจะมีการกระทำในการโกงค่าตั๋วโดยสารเป็นร้อยๆ ครั้ง "
" เช่นนั้น..โทษก็คงไม่ถึงตาย
หรอกนะ ทำไมถึงต้องจริงจังเช่นนี้ ทีหลังแก้ไขไม่ได้หรือ ?
" ไม่..ไม่..คุณสุภาพสตรี เรื่องนี้ยืนยันและพิสูจน์ได้สองอย่าง
1. เธอไม่เคารพกฎระเบียบ เธอชำนาญในการพบเห็นช่องโหว่ของกฎระเบียบ และนำไปใช้ในทางเลวร้าย
2. เธอไม่มีค่าพอที่จะได้รับความไว้วางใจ และบริษัทฯ ของพวกเรามีงานมากมาย ที่ต้องอาศัยความไว้วางใจในการปฏิบัติ หากเธอต้องรับผิดชอบบุกเบิกตลาดในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง บริษัทฯ จะถ่ายโอนอำนาจให้เธอมากมาย เพื่อประหยัดต้นทุน พวกเราไม่สามารถตั้งหน่วยงานตรวจสอบสอดส่องที่สับสนวุ่นวาย เหมือนดั่งระบบขนส่งของประเทศเรา
ดังนั้น พวกเราจึงไม่สามารถว่าจ้างเธอได้ สามารถพูดอย่างเด็ดขาดและการันตีได้เลยว่า ในประเทศนี้ หรือแม้กระทั่งทั้งสหภาพยุโรป เธออาจจะหาบริษัทฯ ที่จะว่าจ้างเธอไม่ได้เลย "
จวบจนกระทั่งตอนนี้ เธอจึงเหมือนดั่งตื่นจากความฝัน เสียใจอย่างแรง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้เธอเกิดความรู้สึกว่า เป็นวลีที่น่าตกใจที่แท้จริง กลับเป็นคำพูดสุดท้ายของฝ่ายตรงข้าม....
* บ่อยครั้ง..ที่คุณธรรม จริยธรรมสามารถชดเชยจุดบกพร่องของสติปัญญา อย่างไรก็ตาม สติปัญญากลับไม่สามารถเติมเต็มคุณธรรม จริยธรรมที่ว่างเปล่าได้ ตลอดกาล *
《 道德常常能彌補智慧的缺陷 , 然而 , 智慧卻永遠填補不了
道德的空白 。》
คุณธรรม จริยธรรมเป็นพื้นฐานคุณภาพของคนคนหนึ่ง ก็คือคุณค่าของคน คนที่โดดเด่นยอดเยี่ยมเพียงใด หากคุณค่าในความเป็นคนมีปัญหา ก็จะขาดความไว้วางใจและการสนับสนุนจากผู้อื่น
ในสถานที่ทำงาน บุคคลที่สูญสิ้นคุณค่าความเป็นคน ยิ่งน่ากลัว เพื่อผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยที่อยู่ตรงหน้า แล้วกระทำการเสื่อมเสียถึงองค์กรส่วนรวม ต้องเป็นสุสานในอาชีพของบุคคลนั้นอย่างแน่นอน
* ในสถานที่ที่ทำงาน ต้องอาศัยความสามารถและความจริงใจ แพ้อะไรก็แพ้ได้ แต่อย่าแพ้คุณค่าในความเป็นคน *
Cr.line
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過508萬的網紅My Pony,也在其Youtube影片中提到,ข้างบ้านขโมยมะม่วง เรื่องราวหนังสั้นที่สอนเรื่องสติ อารมณ์ คือ ปัญหา สติ ปัญญา คือ ทางออก #พี่โพนี่ #ขโมยมะม่วง #หนังสั้น ❤อย่าลืมกดติดตาม เพื่อไม่พล...
「คุณธรรม คือ」的推薦目錄:
- 關於คุณธรรม คือ 在 Coach Siriluck Tansiri Facebook 的最佳解答
- 關於คุณธรรม คือ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
- 關於คุณธรรม คือ 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
- 關於คุณธรรม คือ 在 My Pony Youtube 的最佳解答
- 關於คุณธรรม คือ 在 คุณธรรมหมายถึง ? - YouTube 的評價
- 關於คุณธรรม คือ 在 คุณธรรมจริยธรรม | By การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 - Facebook 的評價
คุณธรรม คือ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
พจนานุกรมพุทธศาสน์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ให้ความหมาย 'ธรรม' ไว้ว่า สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
ส่วน 'ธรรมชาติ' คือ สิ่งที่เกิดมีเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดา เช่น ดิน น้ำ คน สัตว์ ต้นไม้
และ 'ธรรมดา' คือ อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ ในภาษาไทยว่า สามัญ, ปกติ, พื้นๆ
...
🌳
ท่านพุทธทาสเทศน์ว่า "สิ่งทั้งปวงนี้ไม่มีอะไรอื่นนอกจากสิ่งที่เรียกว่า 'ธรรม'" โดยบอกว่า "ธรรมะซึ่งแปลว่า 'สิ่ง' เท่านั้นแหละ; สพฺเพ ธมฺมา ก็แปลว่าสิ่งทั้งปวง
'สิ่งทั้งปวง' หมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรหมด จะเป็นเรื่องโลกหรือธรรมะก็คือสิ่งทั้งปวง จะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็คือสิ่งทั้งปวง
สำหรับท่านพุทธทาส ตัวโลกหรือสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นวัตถุธรรม ก็คือธรรม
ตัวจิตใจที่จะรู้จักโลกทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือธรรม
เมื่อกระทบกันแล้วเกิดรัก โกรธ เกลียด กลัวขึ้น หรือเป็นสติปัญญา รู้แจ่มแจ้ง ก็คือธรรมทั้งนั้น
ถูก-ผิด ดี-ชั่ว ก็คือธรรมทั้งนั้น
สติปัญญาก่อให้เกิดความรู้ขึ้นมา อันนี้ก็คือธรรม
ความรู้เป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติขึ้นมา เป็นศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบัตินั้นก็คือธรรม
ครั้นปฏิบัติแล้วผลเกิดขึ้น เป็น มรรค ผล นิพพาน ผลที่เกิดขึ้นก็คือธรรม
ท่านพุทธทาสจึงบอกว่า ธรรมคือสิ่งทั้งปวง
...
🌳
ท่านยังบอกอีกว่า "ธรรมะล้วนๆ ไม่มีอะไรเจือนี้คือธรรมชาติ"
ธรรมะ แปลว่าสิ่งที่ทรงตัวมันอยู่ ถ้าสิ่งใดมีการทรงตัวอยู่แล้วสิ่งนั้นเรียกว่าธรรมะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
หนึ่ง, สิ่งที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
สอง, สิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
สิ่งแรกคือการเปลี่ยนแปลงจากการปรุงแต่ง กระแสไหลเวียนเปลี่ยนแปลงก็คือตัวมัน มันไหลเวียนแต่ก็ทรงตัวอยู่ในการไหลเวียนนั้น
สิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงเพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้เปลี่ยนแปลง คือพระนิพพาน คือความว่าง ก็จะเป็นธรรมะประเภทที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
...
🌳
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเห็น 'ธรรม' ตามจริง เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งล้วนเป็นธรรมะ จะไปยึดถือว่าเป็นเรา-ของเราได้อย่างไร
เช่นนี้ ธรรมะจึงแปลว่าธรรมชาติ หรือธรรมดา หรือตถตา คือมันเป็นอย่างนั้นเอง
ถ้าเห็นสิ่งทั้งปวงตามจริง ย่อมว่างจากตัวตน คือการพยายามใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการบงการ ควบคุม ตัดสิน หรือพยายามยึดมั่น เกาะเกี่ยว เหนี่ยวรั้งสภาพบางอย่าง สถานะบางอย่าง หรือตัวตนที่ชอบเอาไว้
ท่านพุทธทาสบอกว่า "จะศึกษาความว่างก็ต้องศึกษาสิ่งทั้งปวง"
...
🌳
ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าการศึกษาสิ่งนอกตัว (วัตถุ) ทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป รวมถึงเหตุปัจจัยที่ประกอบกันเป็นสิ่งหนึ่ง ผลลัพธ์หนึ่ง สถานการณ์หนึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจเริ่มจากการศึกษาผ่านความคิด เป็นสุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา เพื่อทำความเข้าใจ (อย่างน้อยในแง่คอนเส็ปต์) ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจังและอนัตตา คือเปลี่ยนแปลงและไม่มีตัวตนแท้จริง ล้วนเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งของการรวมกันของเหตุปัจจัย
ส่วนการศึกษาสิ่งในตัว (จิตใจ) ทำให้เรารู้ซึ้งถึงความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของสภาพจิต และความร้อนของการยึดถือที่เราพยายามยึดบางอย่างไว้เสมอ พยายามยึดสุขและผลักไสทุกข์ ถ้าเห็นสิ่งนี้บ่อยมากขึ้น เห็นโทษของมัน สัมผัสถึงความร้อนของมัน เราจึงจะคลาย และค่อยๆ วางความยึดมั่นลงทีละนิด--เป็นภาวนามยปัญญา
ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงล้วนแล้วแต่เป็นสภาวะธรรมชาติ
เป็นธรรมะ
เป็นธรรมดา
ทั้งของโลกและของเรา
ซึ่งจะว่าไปแล้ว ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างสองสิ่งนั้น
...
🌳
ที่เราเป็นทุกข์เพราะไม่สามารถอยู่กับธรรมชาติที่เป็นไปทั้งภายนอกและภายในได้ ไม่สามารถยอมรับความธรรมดาของสิ่งทั้งปวงได้ เมื่อมองไม่เห็นความเป็นไปอย่างแท้จริง เราจึงใช้ชีวิตเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปตามที่เราคิดและคาดหวัง ครูบาอาจารย์บอกว่าสิ่งนี้คืออวิชชา หรือหลงผิด เพราะไม่รู้ในความจริง
จึงน่าคิดว่า วิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการกดปุ่มสารพัด เลือกอุณหภูมิ เลือกตั้งเวลา เลือกปรับสภาพแสง สี เสียง ทำให้เราใช้ชีวิตกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติน้อยลง จนหลงคิดไปว่า สิ่งทั้งหลายควบคุมได้ และทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงได้
การไม่เคยชินกับความเปลี่ยนแปลง ทำให้เราทุกข์ง่ายขึ้นหรือไม่
วิถีชีวิตที่ไกลจากต้นไม้ แสงแดด สรรพสัตว์ ทำให้เราห่างไกลความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือเปล่า
ความเร่งรีบจนไม่มีเวลาสังเกตจิตใจตัวเอง ทำให้เรามองไม่เห็นธรรมชาติอันปั่นป่วนของจิตใจตนเอง นำมาซึ่งความเครียดโดยไม่รู้สาเหตุหรือไม่
เราอยู่กับความจริงหรือไม่จริงมากกว่ากัน
เราอยู่กับธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน
ธรรมชาติในความหมายของความธรรมดาที่เป็นไป
ที่ว่ากันว่า "คนสมัยใหม่ห่างธรรมะ" อาจไม่ได้หมายถึงห่างวัด แต่อาจหมายถึงห่างจากสภาวะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ
รวมถึงห่างจากจิตใจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของตัวเองด้วย
-------------------------------------------------------------
ตื่นมาทำการบ้านเตรียมไปชวนคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช และพี่เชน-มล.ปริญญากร วรวรรณ คุยในงานครบรอบ ๑๐ ปี สวนโมกข์กรุงเทพฯ x พื้นที่ชีวิต ในหัวข้อ 'ธรรมะกับธรรมชาติ'
ใครไปงานวันนี้ พบกันครับ :)
คุณธรรม คือ 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
ความเห็นน่าสนใจจาก จขพ ท่านเป็นพระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพุทธศาสนาโดยตรง อ่านแล้วน่าสนใจดี คือจริงๆ ถ้าเป็นรูปแบบการศึกษาแบบหลักสูตรที่จ่าเคยเรียนสมัยเด็กๆ มันน่าเบื่อจริงนะ ให้ท่องจำว่า วันนั้นวันนี้คือวันอะไร หลักธรรมนี้มีกี่ข้อ แต่ละข้อหมายถึงอะไร บลาๆ เพ่ือเอาไปสอบ แค่นั้น แต่ในแง่การเอาไปใช้ หรือประยุกต์ใช้กับชีวิตยังไง เราเรียนกันน้อยมาก ส่วนมากเน้นท่องจำมากกว่า เข้าใจไม่เข้าใจก็อีกเรื่อง ซึ่งก็ไม่แปลกถ้าเด็กรุ่นใหม่จะมองว่า ที่ๆเราเรียนกันมา มันไม่เวิรค ถ้าคนที่ทำงานในด้านการศึกษาศาสนามีไอเดียแบบหลวงพี่ท่านนี้ก็คงดี
#ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง
.
เหตุการณ์เร็วไวจริงครับ สองอาทิตย์ที่แล้วผมได้พูดเรื่องนี้กับลูกศิษย์ที่เป็นพระสอนศีลธรรมแกนนำอีสานรูปหนึ่ง ขณะนั่งรถไปเป็นวิทยากรพัฒนาครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างให้กับงานวิจัย ป.เอก นักศึกษาท่านหนึ่งที่ต่างจังหวัด ผมบอกว่า..
.
“..ท่านคอยดูนะ เดี๋ยวเด็กเยาวชนจะออกมาประท้วงวิชาพระพุทธศาสนาแน่นอน ยก 3 นิ้ว ท่านคอยดู”
“..ต่อไปพวกท่านจะเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียนยากขึ้น หรืออาจจะไม่ได้เข้าไปสอนที่โรงเรียนอีกเลย”
“.. พระจะพากันออกมาบ่นหรือประท้วงว่า ทำไมไม่ให้พระเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน”
“..ท่านรู้ไหมตอนที่พระเรามีโอกาสเข้าไปสอน ไปทำหน้าที่ พระเราหลายรูป (เยอะมาก) ไม่สนใจ ไม่ใยดี ไม่รักการสอน ไม่ไปสอน ไม่ห่วงเด็ก จะเอาแต่เงินแต่ไม่สอน ไม่ทำใบรายงานส่ง หน้าที่บกพร่อง การสอนก็มีปัญหา”
“..ท่านรู้หรือยัง หลักสูตรฐานสมรรถนะตัวใหม่ที่ สพฐ. จะประกาศใช้ปี 65 ทั้งประเทศไม่มีวิชาพระพุทธศาสนา สัญญาณเตือนมาแล้วนะท่าน”
“..ปี 61 ผมพูดเตือนสติ บนเวทีปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาให้คนร่วมงานเกือบ 500 คนจากทั่วประเทศที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซฟังว่า “ไม่มีพระเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน ไม่น่ากลัวและเลวร้าย เท่ากับมีพระเข้าไปสอนในโรงเรียนแล้วสอนแบบผิดๆ จนเด็กเบื่อ ไม่มีความสุข เครียด เบื่อพระ เบื่อธรรมะ หนีห่างพระพุทธศาสนา และเอาไปแก้ปัญหาชีวิตก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้ฝึกสอนแก้ แต่เน้นสอนจำตัวหนังสือ”
“...ไม่มีใครทำร้ายโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนได้ดี เท่ากับพวกท่านเอง (พระสอนศีลธรรม)”
“..เด็กถูกวางยาพิษสอนแบบผิดๆ มาเนินนานหลายปีแล้ว ด้วยการสอนแบบผิดๆ พากันไปสอนแต่ให้เด็กท่องจำตัวหนังสือไปสอบ เหมือนนกแก้วนกขุนทอง ไม่ได้สอนแก่นธรรม สอนคุณค่า ไม่สอนเครื่องมือปัญญาการใช้ชีวิตให้เขา ผ่านการสัมผัสสัมพันธ์จริง..”
“.. แต่ปัญหาการนำธรรมสู่ใจเด็กเยาวชนด้วยการสอนไม่สมสมัยนี้ของพระ/ครูเอง ไม่ได้พึ่งเกิดท่าน เกิดขึ้นหลายทศวรรษ”
“...แต่ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรให้ถูกต้องบ้างเลย
ปัญหานี้ยิ่งจะซ้ำเติมทำร้ายเด็กเยาวชน ส่งผลด้านลบกลับมาที่พระพุทธศาสนา และสถาบันพระพุทธศาสนา”
.
ดังเช่น เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้
.
นี่คือเรื่องราวที่บอกกล่าวลูกศิษย์วันนั้น
เพราะผมรู้เห็นปัญหามานานโข
เราจึงพาท่านและเครือข่ายแกนนำมาร่วม
สร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาขับเคลื่อน
ช่วยเหลือท่านอื่นไปด้วยกัน
.
อะไรทำให้เด็กเขาเรียกร้องอย่างนั้น
เหตุและปัจจัยที่แท้จริง ที่เกี่ยวข้องคืออะไรบ้าง
ความรู้สึกของเยาวชนที่เรียกร้องเป็นอย่างไร
ทำไมเขาจึงรู้สึกอย่างนั้น
ผู้ใหญ่ คณะสงฆ์ ครู พระสอน จะเข้าใจความรู้สึก
ของเด็กๆ เยาวชนเหล่านั้น ได้อย่างไร
.
การตั้งคำถามเช่นนี้ทำให้เราไม่ด่วนสรุปตัดสิน
ว่าเด็กเยาวชนเหล่านั้นเป็นคนไม่ดี หัวรุนแรง
แต่การถามทำให้เรามีสติ ใคร่ครวญ
ทบทวน ไตร่ตรอง (reflect) ความจริงที่เกิดขึ้น
.
พระพุทธศาสนา เป้าหมายสอนเด็กให้เกิดอะไร
.
สอนชีวิตตามความจริงที่เป็นอยู่
สอนให้มีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)
หรือปรับชุดทิฏฐิ (Mindset) ร่องความคิด
ความเชื่อแบบผิดๆ ให้มีความถูกต้อง
สอนให้คิดเป็น รู้จักคิด แก้ปัญหาเป็น คิดแยกแยะ
วิเคราะห์ให้เห็นความจริงตามสภาวะของสิ่งนั้น
สืบสาวหาเหตุและผล ...เป็นต้น..
บ่มเพาะคุณธรรม ความดี ความงาม ความจริง
และความสุขในการเรียนรู้ (ฉันทะ) ใฝ่รู้ ใฝ่ดี
อยากแสวงหา ลงมือทำความดี
เป็นต้น...
.
หากเป้าหมายการสอนพระพุทธศาสนา ดังกล่าว
ครู พระสอนศีลธรรม สอนผ่านกระบวนการเรียนรู้
แบบใฝ่รู้ (active learning) ที่มีความหลากหลาย
และเหมาะสมกับความสนใจผู้เรียน เช่น PBL,MBL,PjBL,CBL,RBL,Contemplative Education, Transformative learning,.ABL(Ariyasacca,อริยสัจ) Wise reflections (โยนิโสมนสิการ)
Design Thinking, G-A-M-M (เกม,ศิลปะ,เพลง,
สื่อหนัง คลิปสั้น) เป็นต้น..
ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทจากนักพูด นักบรรยาย
นักป้อนหลัก/ข้อธรรม เนื้อหาให้เด็กเสพจำเท่านั้น
ไปสู่การเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้
เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้(fa) ให้เด็กได้เรียนรู้
ผ่านการลงมือทำ มากกว่าเรียนท่องจำตัวหนังสือ
ผู้สอนเป็นนักตั้งคำถาม (ปุจฉา) อย่างมีพลัง (PQ)
เป็นโค้ชคอยกระตุ้นให้เด็กคิดเป็น
ให้เด็กอยากตอบ (วิสัชนา) สู่นักสร้างสรรค์ธรรม
ค้นหา ค้นพบความจริงของชีวิต (ธรรมมะ/แก่นธรรม)
ด้วยตนเองผ่านกลุ่ม/เดี่ยว เป็นต้น
มีการไตร่ตรองสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection)
หลังการจัดกิจกรรม (aar) เพื่อให้เข้าใจตน
เข้าใจคน เข้าใจโลก ชีวิตมากขึ้น
.
การสอนพระพุทธศาสนาด้วยวิธีดังกล่าว
หากผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้เช่นนี้
เขาจะมีความสุขในการเรียนรู้พระพุทธศาสนาไหม
คำตอบชัดอยู่แล้วจากการทดลองวิจัยว่า
ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้
คิดเป็น ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่สร้างสรรค์
และสามารถตอบเป้าหมายการสอนพุทธศาสนา
สำหรับเด็กและเยาวชนได้ทุกข้อเช่นเดียวกัน
.
คงไม่มีเด็กเยาวชนคนไหนออกมาเรียกร้อง
เพื่อให้สังคมมาทำร้ายความสุขของตนเองหรอก
คงไม่มีใครอยากทำร้ายความสุขตนเอง
เพราะเขามีความทุกข์ (น่าเบื่อ เซ็ง เครียด ฯลฯ)
จากการเรียนพระพุทธศาสนา ใช่ไหม
เขาเรียนแล้วไม่เกิดประโยชน์ ใช่ไหม
เขาเรียนแล้วไม่มีความหมาย
และคุณค่ากับตัวเขาเอง ใช่ไหม
.
ตั้งสติ ทบทวนไตร่ตรอง ย้อนถามตนเอง
ในบทบาทพระสอน ครูผู้สอนเสียก่อน
1) เราชัดใน “แก่นธรรม” ของเรื่องนั้นๆ ไหม
(ถ้าไม่รู้จักแก่น วิเคราะห์แก่นธรรมไม่เป็น
ท่านก็จะพาเด็กท่องจำเนื้อหาคืออะไร
เรื่องเป็นยังไง มีเท่าไร อะไรบ้าง วนเวียนแบบนี้)
2) ทำไมต้องสอนเรื่องนั้น เขาจะได้ประโยชน์อะไร
คุณค่า/แก่นธรรมที่เขาควรได้ คืออะไร
(ถ้าเขาได้แก่นธรรม ได้คุณค่า ที่เหลือ
เขาจะไปศึกษาค้นหาแสวงหาด้วยตนเอง
เรียนแล้วได้ passion คนเราไปต่อเอง ถ้าไม่คือจบ)
3) ใช้กระบวนการอะไรที่จะพาเด็กเข้าถึงแก่นธรรม
(ต้องไม่ใช้บรรยาย เทศน์ บอกท่องให้จำ)
4) จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเข้าถึงแก่นธรรมหรือคุณค่า
จากเรื่องที่เรียนนั้นๆ
(ประเมินผลที่สมรรถนะ เขาสามารถทำอะไรได้ จากสิ่งที่เขารู้ เขาทำ และคุณค่า รวมถึงการได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิดออกมา จากพฤติกรรมเชิงบวกที่แสดงออกมา เป็นความรู้ขาออก ซึ่งเครื่องมือการสอนที่หลากหลายได้กล่าวไว้ข้างต้น จะประเมินผลชัดเช่นเจน)
.
หากการสอนหลักธรรม พระพุทธศาสนา
เด็กไม่เกิดสมรรถนะทางการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
ขาดความสามารถในการ “นำธรรมไปทำ”
นั่นคือ ความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง
.
ผลเสียหายใหญ่หลวงที่ตามมา คือ
เด็กเขาจะเบื่อ วิชานี้ เบื่อพระ เบื่อพระพุทธศาสนา
แค่เห็นหน้าพระ ผู้สอน วิชานี้ (ส่วนใหญ่เป็น)
เขาตั้งชุดความคิด (mindset) อกุศล ลบๆ รอแล้ว
นั่นคืออะไรรู้ไหมครับ “การสอนผิดวิธี”
และไม่เหมาะสมกับเด็ก และความสนใจใฝ่รู้ (ฉันทะ)
คือบ่อนทำลายศรัทธาของเด็กเยาวชนที่มีต่อ
พระพุทธศาสนา เลยทีเดียว.. จบเลย !
.
นี่คือการทำร้ายความรู้สึกของเด็กเยาวชน
ไม่ให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
โดยไม่มีเจตนา (อวิชชา) แบบเนียนที่สุด
และน่ากลัวที่สุด
เพราะเด็กยาวชนเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย
จบเลย !! ลงท้ายก็กล่าวโทษเด็ก
.
ปัจจุบรนเยาวชนส่วนใหญ่ไม่อยากเข้าวัดอยู่แล้วครับ
การสอนแบบผิดวิธี ยิ่งไปกดทับความรู้สึกเด็กเพิ่มเติม
แทนที่การศึกษาพระพุทธศาสนา
จะต้องจัดกระบวนการทำลายอวิชชา-ตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง ปัญญา-กรุณา
กลับไปตอกหมุดเสริมอวิชชา-ตัณหา ให้หนักไปอีก
.
วิชาพระพุทธศาสนาไม่ใช่วิชาที่จะจับเด็กมานั่งฟัง
“เน้นท่องจำๆ ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว”
(ส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ โดยเฉพาะพระสอน)
“การจำหลักธรรม” เป็นขั้นต้นของปัญญาขั่นต่ำสุด
การเรียนรู้เด็กต้องจำอยู่แล้ว
การสอนให้จำ มีหลายวิธี เช่น
ให้เด็กท่องจำเลย ให้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ
และอีกหลายวิธีการ
แต่ความรู้สึกในวิธีการจำนั่นต่างหาก สำคัญ
.
ปัจจุบันปัญหาคือ การสอน “หยุดแค่จำ” ครับ
การคิดขั้นสูง (โยนิโสมนสิการ) ให้เด็กคิดเป็น
ไม่ได้ฝึกคิดค้นหาความความจริง สืบสาวเหตุ
แยกแยะ สร้างสรรค์ความดี (ลงมือทำ)
ซึ่งขัดแย้งกับการสอนพระพุทธศาสนา
ที่มีเป้าหมายสอนให้คนเกิดปัญญา
คิดให้ถูกวิธี (อุปายมนสิการ)
คิดให้เป็นระบบ (ปถมนสิการ)
คิดให้มีเหตุผล (การณมนสิการ)
คิดดีให้เป็นกุศล (อุปปาทกมนสิการ)
โดยใช้โยนิโสมนสิการ คือเครื่องมือ
ในการพัฒนาการคิดที่หลากหลาย หรือ
เครื่องมือที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก เป็นต้น
.
พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์เหมือนกัน
ตรงที่ ต้องทดลอง ต้องปฏิบัติ เรียนฟิสิกส์
เคมี ชีววิทยา แล้วครูไม่พาเด็กทำ Lab
ก็ไม่แตกต่างจากอ่านตำราทฤษฎีปั่นจักรยาน 3 ปี
แต่ไม่เคยปั่นจักรยานเลย เด็กก็ไม่รู้จริง
ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น เอาไปใช้ต่อไม่ได้
เพราะขาดประสบการณ์การทดลอง (Lab)
พระพุทธศาสนาก็เช่นกัน ต้องทำ ต้องสัมผัส
จึงจะเห็นความจริง เข้าใจความจริง เห็นคุณค่า
ถ้าเขาไม่เห็นคุณค่า จะนำไปใช้จริงกับตนเอง
และใช้กับผู้อื่นได้อย่างไร
.
หากเด็กเรียนแล้วไม่ได้เกิดประโยชน์
เรียนแล้วไม่มีความหมาย หรือคุณค่าต่อชีวิตเขา
เด็กเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่อยากเรียนก็ได้
เพราะเรียนไปแล้ว มีแต่ “ความทุกข์”
เกิดความเครียด เซ็ง รู้สึกน่าเบื่อหน่าย..ฯลฯ
และเมื่อเด็กเยาวชนปฏิเสธพระพุทธศาสนา
.
อนาคตวันข้างหน้าเด็กเยาวชนเหล่านี้
เขาจะมาทำนุ บำรุง ดูแล รักษา และปกป้อง
พระพุทธศาสนาต่อไปไว้ได้อย่างไร
เพราะตัวเขาเข้าไม่ถึง “แก่นธรรมคุณค่า”
ของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด
.
คำถามบอกทิศ คำตอบบอกทาง
.
ใครละทำให้เด็กเยาวชนเข้าไม่ถึงคุณค่า
ของแก่นธรรมสาระเรื่องนั้นๆ
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้สอน พระสอนศีลธรรม
(ยังไม่รวมถึงรากแก้วต้นแบบ คือ ผู้ปกครอง)
เป็นตัวแปรหลักสำคัญในเรื่องนี้
เพราะเป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
แต่การจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนคงไม่ใช่กล่าวถึง
อยู่แค่ตัวผู้สอนเพีงประการเดียว
และมีเหตุผล ปัจจัยอะไรบ้างเกี่ยวข้อง
กับสิ่งที่เยาวชนเขาเรียกร้องคือ ผู้รับผลกระทบ
.
...ตัวหลักสูตรสาระ เนื้อหาเรียนเยอะ
เน้นความรู้ อันนี้ก็น่าเห็นใจครูครับ
ตัวชี้วัดเยอะ บีบรัดครู ครูเครียด เด็กก็เครียด
...แต่ที่หนักกว่าหลักสูตรแกนกลาง ก็คือ
“หลักสูตรธรรมศึกษา” ของแม่กองธรรม (คณะสงฆ์)
หนักว่าหลักสูตรแกนกลางอีก ก็บังคับให้สอบอีก
หนักกว่าอีก ก็พาเด็กทุจริตสอบเสียเอง
..วิธีการสอน ..ตัวผู้สอนเอง และ
..การวัดประเมินผล เน้นจำสอบ ฯลฯ คือเหตุปัจจัย
ถ้าเหตุปัจจัยดี จะต่อว่ากล่าวโทษเด็กไปใย
.
ด้วยเหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้นึกถึงประโยคที่ Dr. Heidi Hayes Jacobs (2010) ได้เคยเสนอคำถามไว้ ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน สู่ศตวรรษที่ 21 ไว้ 3 ข้อว่า
✅ What do we cut? เราควรตัดสิ่งใดออกไปบ้าง?
✅ What do we keep? เราควรเก็บรักษาสิ่งใดไว้บ้าง?
✅ What do we create? เราควรสร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง?
.
สรุปคือ วิชาพระพุทธศาสนา
ควรจะต้อง ตัด-เก็บ-สร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง?
ที่สอดคล้องและเหมาะสมต่อการนำไปใช้จริง
ของเด็กเยาวชนในสภาวะการณ์ปัจจุบัน
.
เมื่อเป็นเช่นนี้ หวังว่าผู้ใหญ่ คณะสงฆ์
ต้องมีความใจกว้างมากพอ มีความเมตตาสูง
อย่ากล่าวโทษต่อว่าเด็กลูกหลานว่า ไม่ดี หัวรุนแรง
“ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง” โดยไม่ตัดสิน
อาจจะทราได้ว่า เขาทุกข์มากแค่ไหน
“เขาต้องใช้ความกล้ามากแค่ไหน
ที่ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องกับความทุกข์
กับความอยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ
ที่เขาไม่ได้ก่อขึ้น”
.
เมตตาทบทวน แก้ไขปัญหาที่สั่งสมมานาน
ควรตัด - เก็บ - สร้างสรรค์อะไรใหม่
เพื่อให้เด็กเยาวชน “ได้นำธรรมไปทำจริง”
ให้มีความสอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
.
ผมเตือนพระ มา 2-3 ปี หลายเวที ระวังนะท่าน
.
เรื่องนี้ผมเตือนสติพระสอน ลูกศิษย์หลายเวที
หากท่านไม่ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการสอน
เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับเด็ก
จัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองความสนใจใฝ่รู้ของเด็ก
ท่านอาจไม่มีโอกาสได้เข้าไปสอนในโรงเรียนอีกเลย
เพราะการจัดการเรียนรู้ของท่านไม่มีคุณภาพพอ
ที่จะบ่มเพราะปัญญา ศีลธรรม ความสุขให้กับผู้เรียนได้
สถานศึกษาขาดความมั่นใจ ไม่นิมนต์อีกเลย
และเด็กเยาวชนจะไม่อยากเรียนพุทธศาสนา
เขาจะออกมาเรียกร้องพวกท่านนะ ! !
2-3 ปี ที่ผมเคยพูดไว้หลายเวทีหลายจังหวัด ก็เกิดขึ้น
.
คำถามคือ พระเอง ครูผู้สอนเอง
จะทำให้ห้องเรียนพระพุทธศาสนา
เป็นห้องเรียนที่มีชีวิต
เป็นห้องเรียนที่ความสุขในการเรียนรู้ ใฝ่รู้
เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย
และมีคุณค่าต่อผู้เรียนได้อย่างไร
.
การจะช่วยบ่มเพราะปัญญา คุณธรรม ความสุข
ให้กับเด็กเยาวชน อยากสอนให้เป็นคนดี
อย่างน้อยๆ ผู้สอน / พระเอง ต้องมีของ D 4 อย่างกับตัว
D1 : #มีความประพฤติดี
—— อย่าหนีสอน ทิ้งห้องเรียน ไม่รับผิดชอบหน้าที่ รักการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีของคุณธรรมด้านต่างๆ จะสอนอบายมุข ยังสูบบุหรี่อยู่เลย ท่าที การจัดการอารมณ์ตนเองให้เป็น มีสติ ฯลฯ สรุป จรณะ (soft skills) ท่านต้องมีดี ถึงจะสอนเขาให้ได้ดี นึกถึงพระสารีบุตรที่เห็นแบบอย่างที่ดี จากพระอัสสชิ แล้วปฏิบัติตามครับ ชัดเจนสุด
D2 : #แผนการสอนดี
—— พระต้องเขียนแผนเป็น และต้องเป็นแผนเน้นกระบวนการใฝ่รู้ (AL) มากกว่า การท่องจำสอบ
เด็กเยาวชน ไม่ใช่ก้อนหิน ขอนไม้ เขามีความรู้สึก
พระไม่ใช่จะพูด จะทำอะไร ตามใจตนเอง
เกิดลูกเขาเป็นอะไรขึ้นมา รับผิดชอบไหวไหม
หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านแล้วเข้าห้องสอน ขาดการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงแก่นธรรม คุณค่า ถ้าแบบนั้นสอนเด็กให้เชื่อง อันตรายมาก จำหลักได้แต่เข้าไม่ถึงแก่นธรรมเรื่องนั้นๆ เด็กเอาไปใช้จริงไม่ได้ สอนแค่จำ คืออะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง (knowledge) เอาแค่จำสอบ สอนพุทธะต้องตื่นรู้ การตื่นรู้ต้องฝึกฟัง ให้ทำ ตั้งคำถามสอนคิด เปิดโอกาสให้คิด มากกว่าการสอนให้เชื่อตาม ถ้าไม่ได้ฝึกสมองคิด พัฒนาปัญญาเด็ก เมื่อเจอปัญหาในชีวิต เขาจะแก้ปัญหา (ทุกข์) ไม่ได้
D3 : #สอนดี
—— มีความเมตตา บรรยากาศอบอุ่น สนุก เร้า ท้าทาย เดินให้ทั่วถึงเด็ก ปรับจากห้องเรียนเงียบ ต่างคนต่างทำ เป็นห้องเรียนชีวิต มีความหมาย เรียนเป็นกลุ่ม สอนกันเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโค้ช ใช้คำถาม คือสอนคิด ใช้คำถามกระตุ้นส่งเสริมการคิดสู่ปัญญา ให้มองเห็นความจริงของชีวิต ฯลฯ...
D4 : #เด็กคุณภาพดี
—— เด็กต้องเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เด็กได้ฝึกฟัง (สุตะ) ได้ฝึกคิด (จินตะ/โยนิโสมนสิการ) ได้ฝึกทำ (ภาวนา/ลงมือปฏิบัติ) นำไปสู่เกิดสมรรถนะ ทักษะ คุณธรรม ศีลธรรม และผลการเรียนดี
.
ทักษะ วิธีการสอน สำคัญกว่าเนื้อหาที่สอนก็จริง
แต่ที่สำคัญกว่าทักษะ วิธีการสอน คือ
จรณะ ความประพฤติ คุณธรรมของท่าน
ความประพฤติไม่ดี ก็สอนเด็กได้ไม่ดี
ลูกเป็นอย่างที่พ่อแม่/ผู้ปกครองเป็น
ศิษย์เป็นอย่างที่ครูเป็น
ต้องมีทั้งจรณะ (soft skills) วิชาการ (hard skills)
ควบคู่ผสานสอนเหนี่ยวนำกันไป
.
ให้กำลังใจพระสอนศีลธรรม และผู้สอน
มั่นฝึกฝนพัฒนาการสอนครับ
รักการสอน รักการพัฒนาเด็กเยาวชน
เป็นแบบอย่างของความดี ความงาม ความจริง
ให้กับเด็กเยาวชนลูกศิษย์
ศีลธรรม คือรากฐานความสุขของสังคม
คนขาดศีลธรรม คือ โรคป่วยของสังคม
ช่วยเด็ก บ่มเพาะเด็กเยาวชนต่อไป
ด้วยจิตใจที่เมตตาของท่านครับ
คุณธรรม คือ 在 My Pony Youtube 的最佳解答
ข้างบ้านขโมยมะม่วง เรื่องราวหนังสั้นที่สอนเรื่องสติ
อารมณ์ คือ ปัญหา
สติ ปัญญา คือ ทางออก
#พี่โพนี่ #ขโมยมะม่วง #หนังสั้น
❤อย่าลืมกดติดตาม เพื่อไม่พลาดคลิปใหม่จากโพนี่ ทุกสัปดาห์นะค่ะ : https://goo.gl/iyBc4I
ติดตาม พูดคุยกับโพนี่ได้ที่นี่เลย
❤Facebook : Pony Kids
❤Instagram : ppp_ponykids
ติดต่อเรื่องงาน
❤E-mail : ponykids752017@gmail.com
❤Line : pangporn1020
คุณธรรม คือ 在 คุณธรรมจริยธรรม | By การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 - Facebook 的推薦與評價
คุณธรรม คือ สิ่งที่ควรมี จริยธรรม คือ สิ่งที่ควรปฏิบัติ · More from การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 · Related Pages. ... <看更多>
คุณธรรม คือ 在 คุณธรรมหมายถึง ? - YouTube 的推薦與評價
คุณธรรม หมายถึง ? ... 4.9K views · 2 years ago #Stardustกฤษณมูรติ ...more ... ... <看更多>